เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มยอมรับการลดอันตราย

News

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มยอมรับการลดอันตราย

28 August 2013

ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้นำการลดอันตรายมาใช้ในรูปแบบแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี โครงการเหล่านี้มักขาดงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล ขาดทรัพยากรทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการ หรือยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานองค์การสหประชาชาติ แม้ว่าประเทศส่วนใหญ่ยอมให้ใช้ยุทธศาสตร์การลดอันตรายในเบื้องต้นได้ อย่างเช่น โครงการเข็มและกระบอกฉีดยา (NSPs) และการบำบัดด้วยสารทดแทนอนุพันธุ์ฝิ่น (OST) แต่การทำ “สงครามปราบปรามยาเสพติด” ที่รุนแรงยังคงเกิดขึ้นทั่วไป ในขณะที่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations - ASEAN) กำลังต่อสู้เพื่อที่จะบรรลุ “ความหวังที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้จริง” ในการทำให้ภูมิภาคนี้ปลอดยาเสพติดภายในปี 2558

ตามข้อมูลของ Harm Reduction International เอ็นจีโอระดับโลก ผู้ใช้ยาด้วยวิธีฉีดกว่า 570,000 คนอาศัยอยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่มีความสำคัญลำดับต้น ๆ เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของเอชไอวีและจำนวนผู้ใช้ยาด้วยการฉีดขององค์การสหประชาชาติ

อ่านบทความฉบับเต็มที่นี่

สมัครสมาชิกแจ้งข่าวIDPC ทุกเดือน เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายยาเสพติด